อินไซท์

September 2010

Scene4 Magazine - Arts of Thailand - The Sacred Beauty of Wat Chet Yod | Janine Yasovant September 2010 - www.scene4.com

จานีน ยโสวันต์

เป็นโอกาสที่ดีและเป็นเกียรติแก่ดิฉันมากที่ได้สอนที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
วิทยาเขตจังหวัดเชียงใหม่(วัดเจ็ดยอด)ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสำหรับพระสงฆ์ ดิฉัน
สามารถมองเข้าไปอย่างใกล้ชิดตรงที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน พระสงฆ์ทุก
รูปรวมทั้งดิฉันเคยชินกับชีวิตจริงของพระสงฆ์และฆราวาส รายละเอียดต่างๆนั้นถูก
เก็บไว้เป็นภาพถ่ายเพื่อรำลึกความทรงจำ

วัดเจ็ดยอดนั้นตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 1จากตัวเมืองเชียงใหม่และสถาปัตยกรรมของวัด
ก็น่าสนใจเป็นอย่างมาก  หลังจากจบช่วงการสอนที่วัดดิฉันมักจะถามนักเรียนที่
เป็นพระ เกี่ยวกับศิลปะและสถาปัตยกรรมของวัดและการบูรณปฏิสังขรณ์จาก
ภาคเอกชนและกรมการศาสนาซึ่งเข้าร่วมในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและ
ประวัติศาสตร์ เวลานั้นสามารถลบความสวยงามไปอย่างโหดร้ายและน่าเสียใจที่
เราเพียงแค่ได้เห็นส่วนที่เหลือจากอดีตจากซากปรักหักพัง ทุกวันนี้อาคาร
บ้านเรือนสมัยใหม่ครอบงำวัดวาอารามพระสถูปเจดีย์ในจังหวัดเชียงใหม่จนแทบ
หมดสิ้นแล้ว

หลายปีมาแล้วที่วัดเก่าแก่และสำคัญอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลของบริษัทเอกชน
ซึ่งพยายามพัฒนาภูมิทัศน์ของจังหวัดเชียงใหม่ให้ดีมากกว่าเดิมในเรื่องของ
การตลาดเป็นเวลา หลายปีมาแล้วที่ดิฉันถ่ายภาพชุดของวัดสามแห่งในจังหวัด
เชียงใหม่มาจากหลายมุมต่างๆกัน มีวัดบ้านเด่น วัดสวนดอก และวัดเจ็ดยอด วัด
แรกตั้งอยู่ที่อำเภอแม่แตง  ส่วนวัดที่สองและสามตั้งอยู่ในเมืองเชียงใหม่และอยู่ใน
วิทยาเขตทั้งสองแห่งของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

แนวปฏิบัติก่อนหน้านี้สตรีผู้เข้าไปในวัด ธรรมเนียมปฏิบัติก็ถูกจำกัดบริเวณไม่
สามารถเข้าไปในวิหารได้ง่ายๆแต่เนื่องจากว่าดิฉันเป็นอาจารย์สอนที่มหาจุฬาก็
เลยได้มีโอกาสให้เข้าไปในวัดได้โดยหน้าที่  ดิฉันเห็นสถานที่มีชื่อเสียงมี
สถาปัตยกรรมและงานจิตรกรรมจากวัดที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ที่อยู่ใน
หนังสือรวมภาพและนิตยสารท่องเที่ยว วัดส่วนมากมักจะเปิดในตอนเช้าและปิดใน
ตอนกลางวันและเราทำได้เพียงเยี่ยมชมอยู่ภายนอกวัด

สีแดงจากดอกต้นหางนกยูงเริ่มเบ่งบานในเดือนเมษายนและเวลาที่สวยงามที่สุด
สำหรับการชมดอกไม้คือตอนปลายเดือนมิถุนายนในเวลานั้นภูมิประเทศทำให้รูป
ถ่ายของดิฉันสวยงามมากกว่าเดิม ดิฉันคิดว่าได้ถ่ายรูปวัดเจ็ดยอดมาทั้งหมดแล้ว
แต่ดิฉันคาดผิด เมื่อได้เห็นวิหารหลังใหม่อยู่ตรงข้ามตึกของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของวัดเจ็ดยอด

SDC13026cr

เป็นวันพฤหัสบดีตอนกลางวันหลังจากเวลาสอนดิฉันไปวัดหลายแห่งในจังหวัด
เชียงใหม่รวมทั้งวัดบวกครกหลวงในอำเภอสันกำแพงเพื่อถ่ายรูปตามปกติ พระลูก
ศิษย์ได้ทำหน้าที่ถือกุญแจเข้าไปในอุโบสถและวิหาร บางคนกล่าวว่าทุกหนึ่ง
กิโลเมตรในจังหวัดเชียงใหม่มีวัดแต่ก็มีวัดเพียงไม่กี่แห่งที่มีภาพเขียนบนผนังและ
งานประติมากรรมที่ทรงคุณค่าและน่าจดจำ  ที่วัดเจ็ดยอดดิฉันเดินไปที่วิหารหลัง
ใหม่ที่อยู่หลังต้นโพธิ์และยังไม่พบใครที่นั่นเลย เมื่อเข้าไปในตัววิหารดิฉันได้เห็น
ภาพเขียนสวยงามด้านหลังพระพุทธรูป

KK1cr

เป็นรูปของต้นโพธิ์และใบโพธิ์ที่เขียนด้วยสีสันที่ต่างกันเช่น สีแดง สีม่วง สีส้ม สี
เหลือง สีคราม สีเขียว และสีทอง ผู้วาดใช้พู่กันในลักษณะจิ้ม เป็นจุดๆซึ่งทำให้
ภาพทั้งหมดดูมีประกายงดงาม ฉับพลัน โดยที่ยังไม่ได้ขออนุญาตดิฉันถ่ายภาพ
ภายในอาคาร ผนัง ประตู หน้าต่าง เพดาน และได้เห็นภาพครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็น
พระสงฆ์ที่เป็นที่เคารพสักการะรูปหนึ่งของประเทศไทย สำหรับชาวพุทธแล้วท่าน
เป็นนักบุญแห่งล้านนาไทย และเป็นผู้นำโครงการก่อสร้างถนนขึ้นไปบนวัดพระธาตุ
ดอยสุเทพจังหวัดเชียงใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นรูปวาดรอบผนังที่แสดงถึงรูปงานประเพณี
ท้องถิ่นล้านนาไทยนั้นมีสีสันสดใสและสวยงามเหลือเกิน

ดิฉันถ่ายรูปอยู่ที่นั่นเป็นเวลาราวครึ่งชั่วโมงหลังจากที่มีคนมาเปิดไฟให้ ดิฉันกล่าว
ขอบคุณชายหนุ่มคนนั้นและคิดว่าเขาอาจเป็นนักเรียนศิลปะที่กำลังฝึกงานดิฉัน
รู้สึกสับสนเล็กน้อยและทราบว่างานเหล่านี้คงไม่ใช่ผลงานของนักศึกษาเพียง
ลำพังเพราะภาพเขียนและสีนั้นมีความเป็นมืออาชีพมากและถูกขัดเกลามาอย่างดี
หลายรูปที่ดิฉันถ่ายในตอนแรกนั้นไม่ค่อยชัดเจนเพราะแสงไม่สว่างพอและดิฉัน
ไม่ได้ใช้แฟลชดังนั้นดิฉันตัดสินใจว่าจะไปที่นั่นอีกครั้งหนึ่งในสัปดาห์หน้า

ในวันพฤหัสบดีถัดมาดิฉันกลับไปที่วิหารคุณวรรณีอีกครั้ง ดิฉันได้พบศิลปินที่เขียน
รูปผนังที่วิหารหลังนี้และดิฉันได้สังเกตว่าสีที่เป็นหลักคือสีม่วงและสีทอง ทราบชื่อ
ว่าอ.เกรียงไกร เมืองมูล ดิฉันบอกเขาว่าครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่เห็นวิหารเปิดอยู่
ดิฉันอยากจะทราบว่าใครเป็นศิลปินผู้ควบคุมโครงการเขียนฝาผนังวิหารหลังนี้
ดิฉันสนทนากับเขาเบาๆบอกว่านักศึกษาที่เป็นพระบอกว่ามีทีมงานนักศึกษาจาก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตเจ็ดยอดจังหวัดเขียงใหม่ และ
ด้วยความที่ดิฉันก็เป็นนักวาดภาพด้วย เลยไม่สามารถเชื่อได้ว่าโครงการนี้มาจาก
นักศึกษาเท่านั้น

P1011324cr

มีการสัมภาษณ์และสนทนาเกี่ยวกับภาพเขียนฝาผนังในประเทศไทยและขอบเขต
ในจังหวัดเชียงใหม่อีกหลายครั้งและดิฉันได้รับทราบว่าการเขียนภาพผนังที่ยังคง
เหลืออยู่เพียง  มีไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีศิลปะภาพเขียนผนังโบราณ เช่นกับ
ทางเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชียงใหม่ แต่ก็ไม่เคยได้ตระหนักเลยว่าในวัดเจ็ดยอด
มีภาพเขียนฝาผนังสมัยใหม่ที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้ ดิฉันโชคดีที่ได้รวบรวมบทสนทนา
กับอ.เกรียงไกร เมืองมูล อาจารย์และศิลปินผู้มีชื่อเสียงแห่งล้านนา เขาบอกดิฉัน
ว่าเขามีความสุขและสนใจในการเขียนภาพมาตั้งแต่ยังเด็ก ตอนนี้เขาเป็นอาจารย์
สอนนักศึกษามหาวิทยาลัย งานของเขาทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและ
ประเพณีท้องถิ่นล้านนา ซึ่งเขาทำให้เขาได้รับหลายรางวัล เขากล่าวว่าเมื่อผม
ได้รับรางวัลเจ็ดปีต่อเนื่องก็เลยพิจารณาตัวเองว่าเป็นนักล่ารางวัล แต่งานทุกชิ้น
ไม่ใช่งานที่ผมชอบที่สุด

จานีน: บอกเล่าเรื่องงานที่ชอบที่สุดได้ไหมคะ

เกรียงไกร: นั่นก็คือสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ในตอนนี้ ผมทำงานและวาดรูปที่วิหารในวัด
เจ็ดยอดมาเก้าปีแล้ว ผมยังจำได้แม่นว่าวันแรกที่ทำงานคือวันไหน เป็นวันที่ 11
กันยายน พ.ศ. 2544 ตอนนี้ผมไม่ได้เป็นนักล่ารางวัลอีกต่อไปแล้ว ความตั้งใจของ
ผมคือการรับใช้ศาสนาพุทธและเมื่อผมได้รับโอกาสศึกษาภาพเขียนฝาผนังโบราณ
ที่ยังหลงเหลืออยู่ ในจังหวัดเชียงใหม่หลายวัดยังคงรักษาศิลปะเก่าแก่แม้ว่าเวลา
จะทำให้วัตถุเสื่อมสลายและดิฉันพบว่าความศรัทธาสามารถกระตุ้นให้ศิลปินบอก
เล่าเรื่องต่อผู้คนเกี่ยวกับเรื่องเล่าและนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับศีลธรรมและความดี
งามหรือพุทธประวัติโดยใช้แปรงและสีบางคนอาจจะบอกเล่าเรื่องสวรรค์ โลก
มนุษย์และนรก ผมอยากจะบอกเล่าเรื่องราวนี้ในรูปแบบล้านนา คงจะเป็นเรื่องของ
อาณาจักรล้านนาและประเพณีและพิธีกรรมที่น่าสนใจและผมอยากจะเน้นเขต
ภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งรวมจังหวัดต่างๆเช่นแพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง
เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน รวมไปถึงเขตปกครองตนเองที่เรียกว่า 12 ปันนา
ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนนานสาธารณรัฐประชาชนจีน และยังอยู่ใกล้เขต
พรมแดนประเทศลาวและพม่าที่มีพรมแดนระยะทาง 966 กิโลเมตร วัฒนธรรมและ
ประเพณีของผู้คนที่นั่นรวมทั้งบ้านเรือน เสื้อผ้า อาหารการกิน การดำรงชีวิต
ศิลปะการแสดง พิธีกรรมและเทศกาลต่างๆ นั้นถูกเก็บในภาพฝาผนังของ 6 วัดใน
จังหวัดเชียงใหม่และพะเยา ระยะเวลาการทำงานต่างกันไปในแต่ละแห่งแต่ในวัด
เจ็ดยอดนั้นความตั้งใจของผมเป็นรูปเป็นร่างและสามารถมองเห็นได้

P1011325cr

จานีน: งานของคุณเหมือนเป็นภาพวาดและภาพเขียนบนผ้าบาติกผืนใหญ่ สีสัน
สวยงามจนน่าตกตะลึง ดิฉันพึ่งค้นพบว่านักศึกษาศิลปกรรมมาทำงานเช่นกันแต่
ดิฉันคิดว่างานเหล่านี้ไม่ได้มาจากนักศึกษาเพราะมันไม่ง่ายเลยที่จะทำให้ดีแบบนี้
ภาพของประเพณีล้านนานั้นดูมีชีวิตชีวาและดิฉันสามารถเห็นมุมมองแบบนำสู่
สายตาได้ดีทีเดียว

เกรียงไกร: ไม่ใช่นะครับ นี่ไม่ใช่มุมมองแบบเปอร์สเปคทีฟที่เป็นแบบฝรั่ง ผม
เขียนในรูปแบบไทยๆ [เขายิ้มเล็กน้อยและชี้ให้ดูถึงความแตกต่างของศิลปะ
ตะวันตกและศิลปะไทย]

เกรียงไกร: ศิลปินไทยชอบวาดภาพถัดกันไปโดยมีขนาดเท่ากันโดยที่ไม่ได้
พิจารณาสัดส่วน ระยะทางและขนาดของคน บางทีหัวคนเลยใหญ่กว่าประตูบ้าน
ในฐานะที่เป็นครูสอนศิลปะ ผมได้ดัดแปลงการเขียนภาพขนาดใหญ่ซึ่งใช้ในการ
แข่งขันงานศิลปะและพยายามจำลองมุมมองแบบตานก ผลออกมาก็น่าประทับใจ
มาก รูปภาพแสดงถึงประเพณีล้านนาและเทศกาลต่างๆ ผมคิดว่าสีสามารถสร้าง
ความลึกให้กับภาพได้มากกว่าเดิม ผมใช้สีอะครีลิคแบบทึบแสงและเทคนิคการไล่
เฉดสีเพื่อให้ชีวิตกับรูปภาพและให้ความรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหว เทคนิคเหล่านี้
เหมาะสมกับการเขียนภาพฝาผนังในวัด ผมบอกคุณว่าได้มีการใช้กระดาษสารอง
บนผืนผ้าใบก่อนที่จะเขียนอะไรลงไป กระดาษสาทำมาจากต้นกระสาในอำเภอต้น
เปาและสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

จานีน: เคยมีใครใช้เทคนิคนี้มาก่อนบ้างไหมคะ

เกรียงไกร: ใช่ครับ มันเป็นศิลปะพื้นบ้านสร้างโดยคนไทยและผมนำเสนอให้กับ
สาธารณะชนเพราะว่าเหมาะสมในการไล่เฉดแสงและเงาและเป็นการกระตุ้นใช้วัสดุ
ธรรมชาติเช่นเยื่อไม้เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างงานศิลปะ

จานีน: ดิฉันมองไปที่บ้านในภาพเขียนและสังเกตว่าคุณมีความรู้เรื่องโครงสร้าง
และ สถาปัตยกรรม ซึ่งดิฉันเห็นได้จากรูปทรงเรขาคณิต หลังคา ความสูงของ
ใต้ถุนบ้าน และแบบแปลนของห้อง ในงานเขียนภาพของคุณ ถูกต้องไหมคะ

เกรียวไกร: ถูกแล้วครับ ผมเป็นอาจารย์จากคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแต่ถ้า
คุณดูบ้านที่สร้างโดยชาวเขาไทลื้อ [เขาเปิดภาพให้ดิฉันดู]อันที่จริงแล้วเราจะ
เห็นได้ว่าผู้คนในเวลานั้นก็มีความรู้เรื่องรูปทรงเรขาคณิตอยู่แล้ว

จานีน: คุณใช้สีได้สวยมากเช่นสีม่วง เขียว เหลือง ส้ม ทอง และ แดง ดิฉันไม่เคย
เห็นฝาผนังวัดใช้ชุดและโทนสีแบบนี้มาก่อน ดิฉันชอบมากเพราะมันเหมือนผ้า
บาติกสมัยใหม่และไม่เข้มจนเกินไปและก็เหมาะสมกับประเพณีท้องถิ่น

P1011326cr

เกรียงไกร: ครับ ผมใช้สีอะครีลิคแบบทึบและใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อลดและเพิ่ม
ความสว่างเพื่อที่จะสร้างมิติที่ต้องการในภาพ

จานีน: งานของคุณดูแปลกมาก ความแปลกที่ดิฉันพบคือเห็นใบหน้าผู้คนในภาพ
ผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กในภาพเขียนของคุณ ใบหน้าเหมือนกันมากเลย

เกรียงไกร: ผมชอบวาดคนและภาพนี้ก็แสดงถึงพิธีกรรมพื้นเมืองที่ทุกคนสวม
เสื้อผ้าในท้องถิ่นมาเข้าร่วมงาน มันเป็นความจงใจและเทคนิคของผมที่จะให้คนมี
หน้าเหมือนกันเพราะศิลปินบางท่านและผมรู้สึกพอใจกับงานที่ใช้สัญลักษณ์แบบ
เดียวกันและทุกคนในภาพดูมีความสุขและสุขภาพดีเวลาที่ยิ้ม เช่นเดียวกันว่าผม
ต้องการจะเน้นลักษณะพิเศษในภาพเขียนทำให้ทุกคนสามารถจำได้และบอกกับ
คนอื่นว่างานเหล่านี้เป็นการสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์ และบอกได้เลยว่าอ.เกรียง
ไกรเป็นคนวาด  ถ้าคุณอยากจะเปรียบเทียบงานของผมกับศิลปะตะวันตก ผมก็
สามารถบอกได้เลยว่างานของผมเป็นแบบเรอเนซองล้านนาและผมเป็นศิลปิน
แนวอิมเพรสชั่นนิสต์ คุณจะเห็นได้ว่าภาพเขียนทุกรูปมีเรื่องราวอยู่เบื้องหลัง
เกี่ยวกับวิถีชีวิต พระพุทธศาสนาการแต่งกาย เสื้อผ้า  ผ้าที่สวยงามของชาวเหนือ
และการฟ้อน รำแบบไทยพื้นบ้าน สิ่งเหล่านี้เป็นการรวมตัวของวัฒนธรรม
มีงานของผมที่ได้ทำเป็นแบบนำเสนอเปิดเผยชีวิตและธรรมชาติออกไปด้วยวิธีการ
ตัวอย่างเช่นภาพวาดต่างๆเป็นการนำเสนอชีวิตและสิ่งแวดล้อม "ชีวิตชนบท"
สามารถบอกเรื่องราวของคนรวมทั้งพืชผักผลไม้ในท้องถิ่นของประเทศไทย ผม
ทำงานนี้มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว

จานีน: มีเรื่องอื่นที่คุณอยากจะเล่าอีกไหมคะ ลองพูดถึงวัดเจ็ดยอดที่มีประวัติมา
ยาวนาน

เกรียงไกร: ครับผมจะบอกคุณเกี่ยวกับประวัติวัดเจ็ดยอดแบบสั้นๆนะครับ ชื่อเต็ม
ของวัดคือวัดโพธารามมหาวิหารซึ่งพระเจ้าติโลกราชซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่
11 แห่งราชวงค์เม็งรายทรงมีรับสั่งให้สร้างวัดที่มีดินเหนียวแดงและปูนปั้น แต่เป็น
ที่น่าแปลกและน่าสนใจที่ว่าลายของดอกล้านนา เป็นลวดลายปนจีน เราพยายาม
ค้นคว้าว่าวัดถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่ วัดเจ็ดยอดถูกสร้างให้เหมือนกับวัดพุทธคยาใน
ประเทศอินเดีย องค์เจดีย์จะเป็นรูปแบบของศิขระหรือเจ็ดยอด

DSC07537cr

จานีน: แล้วเกี่ยวกับโครงการใหม่ที่คุณกำลังทำอยู่

เกรียงไกร: โครงการใหม่ของผมเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่วาดรูปที่วิหารวรรณีมาแล้ว
9ปี มีวันหนึ่งท่านเจ้าอาวาสวัดแจ้งความประสงค์ว่าว่าเราควรสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่

ท่านบอกให้ผมออกแบบก่อสร้างพิพิธภัณฑ์และผมเสนอท่านเกี่ยวกับการสร้างรูป
แบบจำลองเทวดาบนเจดีย์ใหม่พร้อมกับเสนอโครงการที่คิดไว้กับท่าน เริ่มทำ
ภาพเขียนแบบร่างและภาพถ่ายที่ทำให้งานวิจัยสมบูรณ์และนำมาให้กับพิพิธภัณฑ์
ผมมีแบบร่างรูปปั้นเทวดาอยู่บ้าง งานของผมไม่เป็นความลับนะครับ [เขาแสดง
ภาพร่างและรูปถ่ายของเมื่อ10 ปีก่อนและชี้ให้ดูถึงความแตกต่าง]

DSC07535cr

เกรียงไกร: เรามีหนังสือที่เก็บภาพของเจดีย์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ภาพถ่ายไม่มีลาย
ดอกกับใบไม้ เรายังคงปั้นรูปปั้นเทวดาโดยใช้เทคนิคการปั้นแบบดั้งเดิม มีใบหน้า
แขนและขา ในตอนนี้เราปั้นได้ 6 องค์จากทั้งหมด 80 องค์ รูปปั้นเหล่านี้จะเป็น
ส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ใหม่วัดเจ็ดยอด คุณมาที่วัดแล้วเห็นรูปปั้นเทวดาที่
เสียหายทั้ง 80 องค์แล้ว คุณได้ถ่ายรูปเอาไว้บ้างไหม

จานีน: ค่ะดิฉันถ่ายภาพเก็บไว้บางส่วนค่ะองค์พระ เจดีย์สูงมาก ดิฉันเลยไม่
สามารถถ่ายภาพรูปปั้นเทวดาได้ทั้งหมดและดิฉันยังรู้สึกกลัวๆอีกด้วย

เกรียงไกร: คุณทราบไหมว่ารูปปั้นเทวดาที่มีความสมบูรณ์ที่สุดอยู่ทางทิศไหน

จานีน: ดิฉันคิดว่าอยู่ทางทิศเหนือ... ดิฉันจำใบหน้าของรูปปั้นเทวดาไม่ได้

เกรียงไกร: ใช่ครับอยู่ทางทิศเหนือ ใบหน้าของเทวดานั้นเรียบเฉย ไม่ยิ้มแย้มและ
ไม่ทำหน้าโกรธ ใบหน้า แขน ขา รวมทั้งลายดอกไม้ใบไม้ก็เสียหายไปหมด

DSC07536cr

จานีน: ดิฉันเข้าใจว่าคุณวาดรูปแต่คุณปั้นรูปปั้นด้วยหรือ

เกรียงไกร: ครับ..ผมทำเพื่อศาสนา

จานีน: คุณวางแผนจะซ่อมแซมพระเจดีย์ไหมคะ

DSC07533cr

เกรียงไกร: ผมทำเช่นนั้นไม่ได้ครับ การซ่อมแซมอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร
ผมทำได้แค่เพียงถ่ายรูปและวาดภาพให้เป็นโครงการของวัดเท่านั้น รูปปั้นเทวดา
ทั้งหมดจะถูกทำขึ้นใหม่และเก็บในพิพิธภัณฑ์ใหม่เท่านั้น ทุกคนโดยเฉพาะ
นักศึกษางานศิลปะสามารถเห็นตัวแบบที่ดีเพื่อการสร้างสรรค์ เสริมจินตนาการ คุณ
ถ่ายภาพเจดีย์จากที่ไกลเพราะคุณรู้สึกกลัว ..รูปปั้นที่เสียหายมักดูน่ากลัว  แต่ถ้า
คุณมองเห็นถึงความเป็นศิลปะและความงามคุณจะไม่รู้สึกกลัวและมีความทรงจำ
และความประทับใจที่ดี เนื่องจากใบหน้าเทวดาเหล่านั้นจะคล้ายๆกัน กันเราเลยไม่
ค่อยแน่ใจถึงต้นกำเนิดและช่วงเวลาที่รูปปั้นเหล่านี้ถูกสร้างขึ้น บ้างก็ว่ามาจาก
ลังกาหรืออินเดีย บางคนบอกว่าใบหน้าเป็นของ กษัตริย์พม่าในตอนนั้น และบาง
คนก็สันนิษฐานว่ารูปปั้นเทวดาถูกสร้างขึ้นในช่วงการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่
8 ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช

การทำงานเพื่อศาสนานั้นดีและเป็นประโยชน์แต่ผมจะไม่หยุดอยู่แต่เพียงนี้เท่านั้น
ผมยินดีที่จะไปเขียนผนังหรือทำอย่างอื่นให้กับวัดไทยในต่างประเทศ ผมแน่ใจว่า
ผมมีความรู้เชิงลึกและประสบการณ์ในเนื่องการเขียนภาพ การปั้นรูป โครงสร้าง
สถาปัตยกรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะรายละเอียดของท้องถิ่นล้านนา ผม
อยากจะทำอะไรกลับคืนให้แก่สังคม ผู้คน และศาสนาและการสร้างผลงานที่ยอด
เยี่ยมที่ทำให้ความฝันและเป้าหมายเป็นจริง เงินไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันดับแรกของผม
อีกต่อไปและสิ่งที่ได้ทำ.. นี่เป็นความสุขส่วนตัวที่แท้จริงของผม

KK2cr

 

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

©2010 Janine Yasovant
©2010 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine: Janine Yasovant
จานีน ยโสวันต์เป็นนักเขียน, ซีเนียร์ไรเตอร์ของ Scene4
และเป็นผู้จัดการสำนักงาน Scene4 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

 

Scene4 Magazine - Arts and Media

September 2010

Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | inPrint | Blogs | Books | New Tech | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Payments | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Share This Page Visit Us on Facebook

RSS FeedRSS Feed

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2010 AVIAR-DKA LTD - AVIAR MEDIA LLC. All rights reserved.

Now in our 11th year of publication with
comprehensive archives of over 6000 pages 

sciam-subs-221tf71
taos
singair1710cb
Dell-Samsung-tobann-4481