Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

อินไซท ์

july 2007

จานีน ยโสวันต์

ในฐานะผู้ชอบค้นคว้าและและนักสะสม สิ่งหนึ่งที่ดิฉันชื่นชอบและหลงใหล คือ
ความงดงามของลูกปัดโบราณ ในการสะสมภาคเอกชนของประเทศไทย ลูกปัดเป็น
ที่นิยมมากและบางชนิดเป็นอัญมณีที่น่าตื่นตาตื่นใจและมีหลายชนิด เรา
ประดับตกแต่งลูกปัดเป็นดังเช่นเครื่องรางของขลังและลูกปัดเหล่านั้นเป็นหนึ่งใน
รูปแบบของการตกแต่งส่วนบุคคล. มีหนังสือภาษาไทยจำนวนน้อยที่กล่าวถึง
ประวัติของลูกปัดดังนั้นดิฉันจึงวางแผนจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับลูกปัดในทวีปเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและพื้นที่ภูมิศาสตร์และ
วัฒนธรรมหลักในที่อื่นๆ ดิฉันรู้สึกหลงรักวิธีที่ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานลูกปัดต่างๆ
ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์อันเปิดเผยและดลบันดาลใจที่แสดงถึงวัฒนธรรมของ
มนุษย์และเป้าหมายทางจิตวิญญาณ ดิฉันมีความหวังว่าจะเขียนหนังสือเล่มนี้ให้
เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา2-3ปี

เป็นเวลานานหลายปีแล้ว ลูกปัดเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดและน่าหลงใหลให้กับผู้สะสมราย
เก่าและรายใหม่ในประเทศไทย มันเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับคนที่สนใจในต้นกำเนิด
ของลูกปัดและความก้าวหน้าของทุกสังคมมนุษย์ในโลก ลูกปัดเป็นสิ่งประดิษฐ์ของ
มนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้วในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์เริ่มต้นอยู่ร่วมกันใน
ชุมชน พวกเขาสร้างที่อยู่อาศัยถาวร เริ่มทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่นั้น
เป็นต้นมา ผู้คนแล่นเรือข้ามมหาสมุทรไปค้าขายกับชุมชนอื่น มีความเชื่อว่าพวก
เขาใช้ลูกปัดแทนเงินตราในการแลกเปลี่ยนสินค้า แต่ประวัติศาสตร์ของลูกปัดอยู่ที่
การเปรียบเทียบลักษณะลูกปัด รูปแบบการจัดสร้าง วัสดุที่ใช้ แหล่งกำเนิด และ
ความสวยงามของการผลิต

ดิฉันได้ติดต่อคุณธงชัย อินทรชูศรี ช่างฝีมือและนักสะสมลูกปัดโบราณ เขามีลูกปัด
ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจำนวนหนึ่งไว้ในครอบครอง นักธรณีวิทยาหลายท่านนำลูกปัด
ของเขาไปลงในหนังสือ ด้วยเพราะการค้นคว้าและความรู้ของเขา พวกเราทราบว่า
คุณธงชัย (หรือที่เรียกกันว่าอังเคิลชัย) เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านลูกปัดอันทรงคุณค่า

ลูกปัดเก่าแก่ที่สุดที่มีการค้นพบในประเทศไทยมีลักษณะเป็นอย่างไร

                                     

เอาละนะ ผมจะเริ่มต้นจากลูกปัดหินทรงกระบอกนี้ก่อน สีของมันจะเป็นสีดำหรือ
เขียวเข้ม พวกมันถูกสร้างในยุคสำริด (1500 – 1000 ปีก่อนคริสตกาล) และยุค
โลหะ (500 ปีก่อนคริสตกาล) พบที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหารจังหวัด
อุดรธานี และบ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น
เครื่องถ้วยชามสำริด เครื่องมือเหล็ก ของประดับตกแต่งต่างๆ กำไลข้อมือสำริด
ต่างหู แหวน และลูกปัดหลากสีก็มีการค้นพบที่นี่เช่นเดียวกัน จากประสบการณ์ด้าน
ลูกปัด ผมสามารถบอกได้ว่าลูกปัดลูกไหนแท้หรือเทียม เก่าหรือใหม่ วิธีการเจาะรู
ในลูกปัดโบราณนั้นแตกต่างจากวิธีการในปัจจุบัน

                                 

แล้วบ้านเชียงในประเทศไทยละคะ ดิฉันได้ยินมาว่าบ้านเชียงเคยเป็นหนึ่งใน
อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองไทย ลูกปัดโบราณจำนวนมากในประเทศไทยถูก
สร้างขึ้นในสมัยนั้นใช่ไหมคะ

ใช่แล้วครับ ที่บ้านเชียงและยอดเขาสูง จังหวัดตาก ยังมีการพบลูกปัดสีเขียวและสี
ฟ้าทำจากแก้วโปแตส หลอมเหลวเป็นรูปทรงแท่งและรูถูกสร้างในช่วงการหลอม
แล้วก็มีลูกปัดแก้วสีน้ำเงินเข้มและเขียวเข้มหลอมเป็นรูปทรงหกเหลี่ยม บ้านเชียง
ในประเทศไทยเป็นแหล่งโบราณคดีและเป็นศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดในการผลิต
ลูกปัด นำเข้า และส่งออกในประเทศไทยเช่นกัน แต่ผมไปพบลูกปัดชนิดนี้ใน
เวียดนามตอนที่ผมไปซื้อลูกปัดเป็นกระสอบที่นั่น ปีที่แล้วผมได้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับ
พิพิธภัณฑ์ในเวียดนาม ผมเห็นภาพสร้อยคอลูกปัดแก้วสีน้ำเงินเหมือนกับที่บ้าน
เชียง ผมสับสนมาก เวียดนามก็มีลูกปัดหลายชนิดเหมือนกัน

[อังเคิลชัยหยิบสร้อยลูกปัดมาสองเส้น เส้นแรกเป็นลูกปัดหกเหลี่ยมสีเขียวเข้มกับ
ลูกปัดทองอินเดีย เส้นที่สองลูกปัดแก้วสีน้ำเงินเข้มกับลูกปัดเงินแท้ สร้อยทั้งสอง
เส้นดูสวยงามมาก]

ดิฉันชอบมากเลยที่คุณบอกว่าจะใช้ลูกปัดตกแต่งตัวบ้านและหุ่นไม้

ผมเป็นคนที่ชอบทำงานศิลปะ ลูกปัดโบราณน่าจะนำไปแต่งบ้าน แกลเลอรี่
พิพิธภัณฑ์ ผมทราบว่าลูกปัดเหล่านี้ถูกฝังอยู่ในสุสานเป็นเวลายาวนานจนมีผู้มา
ค้นพบ ผมมีศรัทธาและความเชื่อว่าลูกปัดจะให้ความคุ้มครองและความมั่งคั่ง
สำหรับชาติภพถัดไป

คุณมีลูกปัดจากธรรมชาติบ้างหรือไม่

                                                 

ครับ ผมมีลูกปัดทำจากหอยทะเล พบได้ที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัด
ชลบุรี ลูกปัดนี้มีอายุมากกว่า 3,000 ปี ลูกปัดปะการังจากหลายๆประเทศเช่น
ประเทศจีนก็สวยงามมาก

ลูกปัดโบราณชนิดไหนที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศไทย

                                              
fig5-shellcr
fig6-carneliancr

ผมคิดว่าลูกปัดคาร์นีเลียนเป็นที่นิยมมาก มีอายุมากกว่า 2,000 ปี พบมากในอำเภอ
อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นรูปทรงกลม มีหลายขนาด สีส้มและสีส้มเข้ม ลูกปัดนี้
อาจมาจากอินเดียเมื่อประมาณ 2,000 กว่าปีก่อน ลูกปัดคาร์นีเลี่ยนถูกใช้ให้เป็นจี้
ห้อยคอสำหรับบุคคลสำคัญในเวลานั้น แล้วก็ยังพบในบ้านดอนตาเพชร จังหวัด
กาญจนบุรีเช่นกัน

                                             
fig7-dzi-beadscr

[อังเคิลชัยหยิบลูกปัดอะเกตที่มีลวดลายธรรมชาติแล้วอธิบายต่อ]

มีลูกปัดอะเกตในรูปแบบแท่งแต่ไม่มีรู คาดว่าอาจมาจากอินเดียแล้วมาเจาะรูใน
ประเทศไทย ยังมีลูกป้ดอะเกตที่มีลวดลายรูปตา เรียกว่า ซี บีต จากประเทศธิเบต

                                         
Dvaravati-cr

ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ มีการค้นพบ
ลูกปัดหลากสีเช่น เขียว ส้ม ทอง ลูกปัดแก้วสีเหลือง น้ำเงิน ส้ม มีอายุประมาณ
1500 ปี พบในชุมชนโบราณเช่นอาณาจักรทวารวดี ลูกปัดเหล่านี้เรียกว่าลูกปัด
ทวารวดี ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าในเวลานั้น

                                             
fig9-Om-koicr

อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่เป็นสถานที่เหมาะแก่การค้นหาลูกปัดโบราณและ
ของเก่าจากประเทศจีนและประเทศอื่นๆ

อังเคิลชัยหยิบสร้อยลูกปัดสีน้ำเงินเล็กๆแล้วส่งมาให้ดิฉัน ดิฉันมีความรู้สึกที่ดีและ
คิดว่าลูกปัดเป็นสิ่งที่น่าสะสมเพราะขนาดเล็กและดูลึกลับ และยังบอกเล่าเรื่องราว
ของชีวิตและอารยธรรมในอดีต เป็นหน้าที่ของดิฉันที่จะติดตามแล้วเขียนเรื่องราว
เกี่ยวกับการเดินทางของลูกปัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สัญญาว่าจะเป็นงาน
แห่งความรักและความรู้สึกยินดีอย่างแน่นอน
 

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้

©2007 Janine Yasovant
©2007 Publication Scene4 Magazine

janine-aaa2smallcr2
จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู แฟ้มเก็บข้อมูล

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media

july 2007

Cover | This Issue | inFocus | inView | reView | inSight | inPrint | Blogs | Links | Masthead Submissions | Advertising | Special Issues | Subscribe | Privacy | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media. Copyright © 2000-2007 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved.