Scene4 Magazine — International Magazine of Arts and Media

ท่านมุ้ย

หม่อมเจ้า ชาวไทย
นักสร้าง
ภาพยนตร์

จานีน ยโสวันต์

Scene4 Magazine-inSight

february 2007

legend-of-suriyathai-1cr
คลิกเพื่ออ่านบทความนี้ เป็นภาษาไทย

ภาพยนตร์เป็นส่วนที่สำคัญของวัฒนธรรมไทยมานานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว และยัง
หนึ่งในศิลปะที่สำคัญที่สุดในวิถีชีวิตแบบไทย ศิลปินคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งคือ
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล(ท่านมุ้ย) ท่านเป็นผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์คนหนึ่ง
ของประเทศไทย ท่านได้รับการเลี้ยงดูมาในครอบครัวนักสร้างภาพยนตร์ (บิดา
มารดาของท่านเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทละโว้ภาพยนตร์) และท่านได้ไปศึกษาต่อที่
มหาวิทยาลัย ยูซีแอลเอ สหรัฐอเมริกาทางด้านวิชาเอกธรณีวิทยาและวิชาโท
ภาพยนตร์ ท่านมีเพื่อนร่วมชั้นหลายท่านเช่น ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า และโรมัน
โปลันสกี้ และท่านยังเป็นนักศึกษาฝึกงานของ มีเรียน ซี คูเปอร์ ผู้กำกับและสร้าง
ภาพยนตร์ เช่น  Mighty Joe Young, The Quiet Man และ Little Women

เมื่อท่านกลับมายังประเทศไทย ท่านมุ้ยได้ทำงานกับบิดาของเขา แล้วจากนั้นจึง
ออกมาพยายามทำภาพยนตร์ด้วยตนเอง ในปีพ.ศ. 2514 ท่านได้สร้างภาพยนตร์
เรื่องแรกคือ "มันมากับความมืด" ในปีถัดมา พ.ศ. 2515 ท่านได้สร้างเรื่อง "เขาชื่อ
กานต์" จากงานเขียนที่ได้รับรางวัลของคุณสุวรรณี สุคนธา เป็นเรื่องราวอันเศร้า
สลดของนายแพทย์ผู้หนึ่งที่ทำงานอยู่ในชนบทและต่อสู้กับการทุจริตคอรับชั่น
จนถึงแก่ชีวิต งานภาพยนตร์ของท่านมุ้ยได้กระตุ้นให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
ตระหนักถึงความต้องการอันแรงกล้าของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการนำความยุติธรรม
กลับคืนสู่สังคม

Scene4 Magazine: Chatrichalerm Yukol - Tan Mui
ในช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดก่อนการปฏิวัติของนักศึกษาและประชาชนในปีพ.ศ. 2516
ท่านมุ้ยยังช่วยกระตุ้นสังคมด้วยภาพยนตร์เรื่อง "เทพธิดาโรงแรม" ภาพยนตร์ที่
ได้รับรางวัลเรื่องนี้แสดงให้เห็นภาพหญิงสาวยากจนคนหนึ่งที่ถูกบังคับให้ออกจาก
งานเพราะสภาพเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงและกลายเป็นโสเภณีในเมืองใหญ่ในที่สุด

ในปีพ.ศ. 2517 มีความขัดแย้งทางด้านการเมืองจากนักศึกษาหลายฝ่ายภายหลัง
การล้มล้างรัฐบาลเผด็จการ ท่านมุ้ยได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง "เทวดาเดินดิน"
กล่าวถึงของความสับสนและความเข้าใจผิดในครอบครัว แต่สภาพสังคมเปลี่ยนไป
และทหารได้ทำการปฏิวัติอีกครั้ง นักศึกษาที่ถูกคุมขังได้หลบหนีไปยังชายแดน
ไทยหรือประเทศข้างเคียง
Scene4 Magazine: Last-love-new-version
เมื่อปีพ.ศ. 2519 ท่านมุ้ยได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง "ความรักครั้งสุดท้าย"แสดงถึง
ความรักอันเจ็บปวดของคู่รักที่ไม่เป็นที่ยอมรับของครอบครัว ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้
สำรวจสังคมไทยและการโหยหาเสรีภาพของคนรุ่นใหม่ ภาพยนตร์ความรักที่ผู้คน
ยังเจ็บปวดกับการเมืองที่วุ่นวายสับสนและไม่ต้องการที่จะนึกถึง ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็
มาจากนวนิยายของคุณสุวรรณี สุคนธา ที่ได้แต่งงานกับศิลปินสีน้ำที่มีชื่อเสียง
ภายหลังพวกเขาได้หย่าร้างกัน เธอจึงใช้ประสบการณ์ชีวิตเขียนขึ้นเป็นนวนิยาย
ตัวเอกหญิงเป็นศิลปินแม่หม้ายที่มีความรักต่อชายที่มีอายุน้อยกว่า เธอมีอายุ
มากกว่าและมีบุตร 4 คน ในตอนนั้นสังคมไทยยังไม่ยอมรับความสัมพันธ์แบบนี้ ผล
ก็คือจะถูกต่อต้านและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ถ้าผู้หญิงมีอายุมากกว่าและ
เป็นม่ายก็ไม่สามารถเปิดเผยการแต่งงานใหม่กับชายอายุน้อยกว่าได้ ภาพยนตร์
เรื่องนี้ได้ถูกนำกลับมาสร้างและฉายใหม่ในปีพ.ศ. 2545 ในตอนนั้นสังคมไทย
เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ในที่สุดความสัมพันธ์และความรักแบบนี้เป็นที่ยอมรับ
และเป็นไปได้ในวิถีชีวิตแบบไทย

เมื่อใดก็ตามที่ท่านมุ้ยกำกับหนังรัก ท่านสามารถนามธรรมกลายเป็นรูปร่างและ
แสดงให้ผู้ชมได้เห็น ท่านมอบความรู้สึกใหม่ๆ ของการเปลี่ยนแปลงสังคมให้กับ
ผู้คน เรื่องราวชีวิตของชายผู้หนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง "ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็ม
ขั้น" พ.ศ 2520 และ "อิสรภาพของทองพูน โคกโพ" พ.ศ. 2527 ได้พิสูจน์แล้วว่า
ชาวไทยชอบประเด็นความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ภาพยนตร์เหล่านี้ทำให้ผู้กำกับ
ที่มีชื่อเสียงหลายท่านหันมาทำภาพยนตร์แนวนี้ เมื่อประเทศไทยมีความเป็น
ประชาธิปไตยมากกว่าเดิม ภาพยนตร์เกี่ยวกับการศึกษาและวัยรุ่นและแนวตลก
ขบขันก็เป็นที่นิยมมากขึ้น "ครูสมศรี" พ.ศ. 2529 แสดงให้เห็นถึงครูใจดีคนหนึ่งที่
ยังคงสอนศีลธรรมให้กับนักเรียน ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างความประทับใจมากมาย
ให้กับผู้ชม นักแสดงและท่านมุ้ยก็ได้รับรางวัลจากภาพยนตร์เรื่องนี้

legend-of-suriyathai-8cr

ภาพยนตร์เรื่อง "เสียดาย" พ.ศ. 2540 และ "เสียดาย 2" พ.ศ. 2541 ก็ได้รับรางวัล
เช่นกัน แต่ในช่วงต้นปี 2540 ภาพยนตร์จากญี่ปุ่นและเกาหลีมากมายหลั่งไหลเข้า
ประเทศไทยโดยเฉพาะหนังผีที่เป็นที่นิยมอย่างมาก ทำให้ผู้กำกับหลายท่านหันไป
ทำหนังผีทุนต่ำแข่งกับต่างประเทศ แต่ท่านมุ้ยไม่ทำเช่นนั้น ท่านได้ลงมือทำ
ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง "สุริโยไท" ใช้เวลาถ่ายทำเกือบเจ็ดปีและเป็น
ภาพยนตร์ที่ใช้เงินทุนสร้างสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเวลานั้น เรื่องราวกล่าวถึง
พระราชินีของไทยในสมัยศตวรรษที่ 16 พระองค์หนึ่งที่เสียสละความสุขส่วน
พระองค์ ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชาที่ไม่ได้รักและทรงสละชีพเพื่อพระสวามีและ
ประเทศชาติ ภาพยนตร์แสดงถึงวัตนธรรมและสถาปัตยกรรมในสมัยนั้น บทเพลง
และ ภาพยนตร์เป็นที่นิยมจากฉากการรบยุทธหัตถีบนหลังช้างศึก ในปีพ.ศ. 2546
ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปล่า เพื่อนร่วมงานของท่านมุ้ยได้ตัดต่อให้กระชับกว่าเดิม
เพื่อการจัดจำหน่ายในต่างประเทศ และมีการจัดฉายไปทั่วโลก

ผลงานชิ้นล่าสุดของท่านมุ้ย พระนเรศวรมหาราชมีการฉายในเดือนนี้เพียงตอน
เดียว ยังมีอีกสองตอนให้ติดตาม ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนสร้างมากกว่าสุริโยไท
เพราะว่ามีสามภาค จึงคาดการณ์ได้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะเป็นที่สุดของภาพยนตร์
ไทยเลยที่เดียว ท่านมุ้ยจึงเหมาะสมที่เป็นหม่อมเจ้าผู้เกิดมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์
โดยแท้จริง

Post Your Comments
About This Article

©2007 Janine Yasovant
©2007 Publication Scene4 Magazine

Scene4 Magazine — Janine Yasovant

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย

For more of her commentary and articles, check the Archives

 

Love, Lies and Revolution
The Wafer by Arthur Meiselman Red Columbian Sky by Katrina Elias
February 2-25, 2007 in Los Angeles at the Ricardo Montalbán Theatre
Info and Tickets

 

What's This?

 

Scene4 Magazine-International Magazine of Arts and Media

february 2007

Cover | Contents | inFocus | inView | reView | inSight | Plays | Blogs | Links | Special Issues Submissions | Advertising | Subscribe | Support | Privacy | About | Terms | Contact | Archives

Search This Issue Email This Page

RSS FEEDS

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine - International Magazine of Arts and Media - 6920 Roosevelt Way NE, Seattle, WA 98115. Copyright © 2000-2007 AVIAR-DKA Ltd - Aviar Media LLC. All rights reserved (including author and individual copyrights as indicated). All copyrights, trademarks and servicemarks are protected by the laws of the United States and International laws. No part of this issue may be reproduced or transmitted in any form or by any means, electronic or mechanical, including photocopying and recording for public or private use, or by any information storage or retrieval system, without the prior written permission of the publisher.