www.scene4.com
CHAVALIT SOEMPRUNGSUK AT 80+ | Janine Yasovant | Scene4 Magazine | April 2020 | www.scene4.co

 ชวลิต เสริมปรุงสุข ที่ '80+'
 
จานีน ยโสวันต์

หลังจากการจัดนิทรรศการในกรุงอัมสเตอร์ดัม
ชวลิต เสริมปรุงสุข ศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
ปีที่ได้รับ พ.ศ.2557ได้กลับมาประเทศไทยอีกครั้ง
กับนิทรรศการครั้งใหม่ '80+' เทศกาลศิลปะ ในประเทศไทย
ที่จัดขึ้นถึง 6 แห่ง คือ
บ้านอาจารย์ฝรั่ง,  หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน,
ล้ง 1919, หอธรรมพระบารมี หอศิลป์ร่วมสมัย,
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, นำทอง อาร์ต สเปซ
นิทรรศการที่จัดเริ่มตั้งแต่ พฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563

C1-cr

ชวลิต เสริมปรุงสุข เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2482 เรียนจบชั้นประถมและมัธยม ที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำของนักเรียนชายในกรุงเทพมหานคร หลังจากที่ได้เข้าเรียนและเรียนจบในสถาบัน วิทยาลัยช่างศิลป์ ต่อมาได้เข้าเรียนต่อในคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชวลิต เสริมปรุงสุข ได้เป็นนักศึกษากลุ่มสุดท้าย ที่มีโอกาสได้เรียน และทำงาน กับอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต หลังจากจบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้รับทุนจากกระทรวงวัฒนธรรมของประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้ไปศึกษาที่สถาบันRijkskademie van Beeldende Kunsten ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และต่อมาได้เป็นศิลปินที่ได้ทุนอุปถัมภ์ ของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ ให้เป็นศิลปินที่พำนักอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์อย่างถาวร

ชวลิต เสริมปรุงสุข สมรสกับสุภาพสตรีจากประเทศไทย

คุณภาณี มีทองคำ ซึ่งเป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยศิลปากรเช่นเดียวกัน และได้รับทุนจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ มาศึกษาต่อเช่นกัน

ชวลิต เสริมปรุงสุข  เริ่มทำงานศิลปเป็นอาชีพ จากแนวงานที่เรียกว่า ศิลปสัจจนิยม (realism) ต่อมาก็จะเป็นรูปแบบของงานนามธรรม (abstraction)เวลาผ่านไปกว่า 60 ปี ท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในศิลปะนามธรรม ในรูปแบบศิลปะนามธรรมแบบไทย และศิลปะแบบไม่มีเรื่องราวและไม่มีเนื้อหา

จนกระทั่งมีนิทรรศการเดี่ยว ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ที่ใช้ชื่อว่า In Amsterdam with Chavalit Soemprungsuk  เวลานั้นท่านตัดสินใจที่จะบริจาคงาน ที่เป็นของสะสม มากกว่า 4000 ชิ้น อาทิเช่น ชิ้นงานศิลปะ หนังสือ ของแต่งบ้าน ของใช้ส่วนตัว รวมทั้งโครงสร้างของอพาร์ตเมนท์ที่สร้างด้วยตนเองที่กรุงอัมสเตอร์ดัมยกให้ก ับรัฐบาลไทย ซึ่งมีเจตนาให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เพื่อประโยชน์ของคนรุ่นใหม่ ไว้ในการศึกษางานศิลปะ

หลังจากเลิกสะสมสมบัติที่มีอยู่แล้ว ชวลิต เสริมปรุงสุข ได้เตรียมวาระสุดท้ายของชีวิต ในวัย 70 ปี เลิกทำงานชิ้นใหญ่ๆ ทั้งปั้นทั้งวาดมาใช้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ จากปี พ.ศ. 2556-2562 ท่านได้พัฒนาสัดส่วนของงานดิจิทัล เช่นเดียวกับ การทดลองของการพิมพ์งานดิจิทัลที่ใช้หมึกพิมพ์ ที่งานจะออกมาเพียงเพียงครั้งเดียวในสตูดิโอทำงาน ที่เป็นที่ทำงานส่วนตัว เรียกชื่อว่า อัมสเตอร์ดัม เอทลิเยร์

CV5-cr

จำนวนงานที่สะสมและทำมายาวนาน ได้มาแสดงในครั้งแรกในเมืองไทย โดยใช้สถานที่จัดงาน 6 แห่ง เรียกชื่อว่า นิทรรศการ '80+' ซึ่งเป็นการฉลอง อายุครบ 80 ปี ของท่านเอง

CV17.-crjpg 

ต่อไปเป็นการสัมภาษณ์ของดิฉัน ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563

JY. ขอท่านช่วยเล่าการกลับมาแสดงนิทรรศการ ที่จัดทำพร้อมๆกัน ถึง 6 แห่ง ในระยะเวลาเริ่มต้นของ ปีพ.ศ.2563

CS. หลังจากอายุ 70 ปี ผมก็เริ่มเตรียมตัวตาย และจัดการกับทรัพย์สินที่มี รวมถึงบ้านที่สร้างมาด้วยตนเอง ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ก็โอนกรรมสิทธิ์ ให้กับกระทรวงวัฒนธรรมไทย เพื่อนำมาจัดงานนิทรรศการที่ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ต่อมาผมไม่มีความประสงค์จะทำชิ้นงานใหญ่ๆอีกต่อไป แต่ผมก็จะไม่หยุดทำงาน ผมเก็บงานทุกอย่างไว้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ความตั้งใจจริงของผมคือ ต้องการให้คนที่รักในงานศิลปะ และคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย ได้มีโอกาสเห็นงานของผม ซึ่งเป็นศิลปินที่ทำงานให้ทั้งประเทศไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นเวลาผ่านมา 60 ปี นิทรรศการ '80+'  เป็นงานล่าสุด ทั้ง 6 สถานที่จัดขึ้นของนิทรรศการเดี่ยว เป็นการแสดงนิทรรศการครั้งที่ 5 ในประเทศไทยของผม

JY. กรุณาบอกสถานที่จัดงานในกรุงเทพหน่อยค่ะ

C15-cr

CS. '80+' นิทรรศการศิลปะในประเทศไทยเริ่มขึ้น:

ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563
มีสถานที่ต่อไปนี้

บ้านอาจารย์ฝรั่ง ศิลป์ พีระศรี
วันที่ 3-30 พฤศจิกายน 2562

หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
วันที่ 3-30 พฤศจิกายน 2562

ล้ง1919
16 พฤศจิกายน 2562-10 ธันวาคม 2563

หอธรรมพระบารมี หอศิลป์ร่วมสมัย
14 ธันวาคม 2562 -20 กุมภาพันธ์ 2563

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ( BAAC)
14-26 มกราคม 2563

นำทอง อาร์ต สเปซ
25 มกราคม-15กุมภาพันธ์  2563

JY. ท่านเห็นอะไรกับคนไทยรุ่นใหม่ที่น่าจะมีมิติใหม่ๆในการพัฒนาและเพิ่มความสน ใจในงานศิลปะ

C4-cr

CS. มุมมองงานศิลปะในประเทศไทยยังต่างจากตะวันตกมาก ผมยังบอกไม่ได้ว่าจะมีมิติใหม่ที่พัฒนาจากคนรุ่นใหม่หรือไม่ ผมอาจจะกล่าวว่า การจัดกิจกรรมสำหรับพวกเขาที่จะไปร่วมงานทุกแห่งที่จัดมีการตั้งรางวัลให้มาร ่วมงานทำไปเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น   

C12-cr

JY. ขอท่านช่วยเล่าเรื่องส่วนตัวที่ผ่านมา

CS. ชีวิตของผมและภรรยาที่รักกันมามากกว่า 60 ปี รู้จักกัน ตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยศิลปากร เธอไม่มีทั้งพ่อและแม่ เมื่อวัยเยาว์ และเราได้ย้ายมาอยู่ต่างประเทศเมื่ออายุน้อย อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่เกิดการไม่ยับยั้งระหว่างสองเรา เมื่อเกิดปัญหาเหตุการณ์รุนแรงกับชีวิต ลูกชายของเราเสียชีวิตในกองเพลิงเมื่ออายุได้สองขวบ ซึ่งเป็นบาดแผลสำคัญในครอบครัว

ก่อนหน้านั้น ผมเคยคิดว่าชีวิตไม่มีจุดจบ เพราะมีคุณพ่อที่อายุยืน จนกระทั่งมีเรื่องเศร้าในครอบครัว เวลานั้นลูกชายอยู่กับเพื่อน ที่มาทำหน้าที่ดูแลเด็กและได้เสียชีวิตพร้อมกัน ผมรู้สึกสับสนมาก ถ้าเปรียบเหมือนคุณพ่อของผมที่อายุยืนมาก และเริ่มคิดได้ว่าคนตายได้ทุกวัน คุณอาจจะอยู่ได้วันนี้ พรุ่งนี้อาจจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตก็ได้ ผมเตรียมตัวตายและเตรียมจัดการเรื่องต่างๆจนกระทั่งอายุ 70 ปีและรู้สึกตัวว่าอาจจะตายเร็ว ผมเคยผ่าตัดหัวใจ 2 ครั้ง และเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองซึ่งทำการรักษาอยู๋ ซึ่งมีโอกาสที่จะตายได้มาก แต่ก็ยังมีชีวิตอยู่

หลายๆคนมองผมว่าประสบความสำเร็จมาก ไม่เคยรู้ว่าผมยังมีความเศร้า และได้อยู่ในความทุกข์ที่สุดนั้น เป็นความทรมานใจการเสียลูกไปเป็นความหมดหวังครั้งยิ่งใหญ่ซึ่งไม่สามารถจะ ลืมได้ แต่เราต้องอยู่กับมัน และมันยากมาก

ใช่ละ เรามีงานศิลปะหลังจากลูกเสียชีวิต ผมก็ได้ทำงานหลายๆแบบ และมันก็เกี่ยวกับความเศร้าโศกและเราก็ทำด้วยความรู้สึกในเวลานั้น เราทำงานศิลปะเพราะเราเกิดมาเพื่อทำงานศิลปะ ศิลปะจะขึ้นอยู่กับชีวิตเราในเวลานั้น มันจะออกมาจากใจ
  และคุณจะกลบเกลื่อนมันได้อย่างไร เมื่อลูกคุณเสียชีวิต
คุณจะวาดดอกไม้สวยๆ มันเป็นไปไม่ได้

ศิลปะของผมคือชีวิตเมื่อเราทุกข์ เมื่อเราสุข เราป่วย เราสูญเสีย เราถูกรังแก เราเศร้า มันเป็นบางส่วนของศิลปะในมนุษย์ ไม่ใช่ทุกคนจะเจอแต่ความสุข และไม่ใช่ทุกคน
จะเห็นแต่ดอกไม้และท้องฟ้า ชีวิตคนเป็นเช่นนี้.

aa_1-cr

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
©2020 Janine Yasovant
©2020 Publication Scene4 Magazine

 

 

www.scene4.com

April 2020

  Sections~Cover · This Issue · inFocus · inView · inSight · Perspectives · Special Issues 
  Columns~Adler · Alenier · Bettencourt · Jones · Luce · Marcott · Walsh 
  Information~Masthead · Submissions · Prior Issues · Your Support · Archives · Books
  Connections~Contact Us · Comments · Subscribe · Advertising · Privacy · Terms · Letters

Search This Issue |

Search The Archives |

Share via Email

Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine
of Arts and Culture. Copyright © 2000-2020 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.

www,scene4.comSubscribe to our mail list for news and a monthly update of each new issue. It's Free!
 Name

 Email Address


Please see our Privacy Policy regarding the security of your information.

sciam-subs-221tf71
Thai Airways at Scene4 Magazine
calibre-ad1