Scene4-International Magazine of Arts and Culture www.scene4.com

Welcome to Our
20th Year of Publication

N12cr-thai

ธีร์ นันทวริศ
ภูมิสถาปนิกผู้หลงรักภาพยนตร์ศิลปะสามมิติ

จานีน ยโสวันต์

ธีร์ นันทวริศใช้ทักษะความรู้ทั้งสองสาขาวิชาในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ศิลปะสาม
มิติที่มีความงดงาม ได้จัดตั้งบริษัทของตนเองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์
ผลงานภาพยนตร์ศิลปะสามมิติ ผลงานต่างๆ ของคุณธีร์สามารถพบได้ในหลายๆ
โอกาสเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์รัชกาลที่แล้ว เมื่อปีที่ผ่านมา
ทีมงานของคุณธีร์ได้เข้าร่วมในการประกวด Miss Universe 2018 เพื่อสร้าง
ภาพยนตร์ศิลปะดิจิทอลเพื่อใช้ในงานครั้งนี้

from ThreeDLands on Vimeo.

 

จานีน: อยากให้คุณธีร์เล่าเรื่องผลงานที่ผ่านมา

ธีร์: สำหรับผลงานที่ผ่านมา หลายปีที่แล้วผมได้มีโอกาสทำพระประวัติสมเด็จ
พระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ งานที่ผมทำเป็นภาพยนตร์ศิลปะดิจิทอล ผมทำ 3 ชุดครับ
ชุดแรกทำตอนที่พระองค์ยังไม่สวรรคต คือ 100 ปี ชาติกาล ชุดนี้เป็นศิลปะ
ภาพยนตร์ดิจิทัลครับชุดที่สอง เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ได้สามเดือนหลังจากชุด
แรก ชุดนี้เป็นสารคดีครับ ใช้เปิดในช่วงไว้ทุกข์ 2 ปี ทางวัดบวรนิเวศน์วิหารได้ใช้
เปิดในบริเวณศาลาสวดอภิธรรมตลอดระยะเวลานั้นครับชุดที่สามเป็นภาพยนตร์
ศิลปะสารคดีพระราชประวัติเผยแพร่ใน โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศ
ไทยในวันพระราชทานเพลิงตลอดทั้งวัน และในรอบสุดท้ายก่อนวางดอกไม้จันทน์
ดอกสุดท้ายเข้าสู่พิธีการพระราชทานเพลิงพระศพพระองค์ท่านครับ

หลังจากนั้น ด้วยสำนึกในพระมหาธิคุณ เมื่อวาระที่คนไทยสูญเสียอย่างที่สุดนั้น
มาถึงในปีพ.ศ. 2559  ผมได้จัดงานร่วมกับศิลปินแห่งชาติและศิลปินระดับที่เรียก
ได้ว่าเป็นเพชรน้ำเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อสดุดีพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 หลังพระองค์สวรรคตได้ 1 เดือน ทางกลุ่มศิลปินได้จัดงาน
นิทรรศการภาพยนตร์ศิลปะดิจิทอล "ธ สถิตในดวงใจไทยนิรันดร์" อีกงาน
นิทรรศการที่ทางเราได้จัดนั้นคือคืองานนิทรรศการ  "พระผู้เป็นที่รัก"เป็นงาน
ศิลปะแบบประยุกต์ที่รวบรวมเอาผลงานศิลปะจากศิลปินที่เข้าร่วมทำเป็นงานศิลปะ
ขนาดใหญ่ที่ฉายลงบนอาคารสองแห่งคือ อาคารดิ เอ็มโพเรียม และอาคารดิ
เอ็มควอเทียร์ 3 โดยใช้วิธีการวาดแบบสามมิติ รวมพื้นที่ทั้งหมด คือ 3,500 ตาราง
เมตร จัดว่าเป็นการใช้การวาดแบบสามมิติที่มีขนาดใหญ่สุดในเอเชีย

T6-cr

เวลาครบรอบหนึ่งปีหลังจากที่พระองค์สวรรคต ตัวผมเองและทีมงาน ศิลปิน
แห่งชาติและศิลปินชุดเดิมได้ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมจัดงาน "พระผู้เป็นที่รัก"
งานต่อไปจัดแสดงวาดแบบสามมิติชุด "ธ เสด็จสู่สวรรคาลัย" ในการนี้ทางเราได้
ใช้สถานที่เดิมเหมือนปีที่ผ่านมา

ในปี 2561 ผม ธีร์ นันทวริศ ในนามของซีอีโอบริษัทธรี ดี แลนด์  “Three D
Lands”ได้เป็นผู้สนับสนุนร่วมกับบริษัท TPNในการ จัดงานMISS UNIVERSE
2018 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทย โดยที่ทางเราได้รับหน้าที่ ในการออกแบบ key
visual themeหลักของงานและได้ผลิตภาพยนตร์ศิลปะดิจิทอลประกอบแสดงใน
ทุกรอบ ยกเว้นรอบสุดท้ายซึ่งทางกองประกวดได้จัดเตรียมมาจากทาง
สหรัฐอเมริกา  จึงนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งในเวทีระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
รอบคัดเลือกนั้น งานของทางเราได้จัดแสดงบนเวทีจริง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนที่คน
ไทยจะได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่นี้ ซึ่งทำให้เราระบายความเป็นไทยด้วยพู่กันดิจิทัลสู่
โลกสากลได้อย่างเต็มที่

จานีน: อยากทราบประวัติส่วนตัวในด้านการศึกษาและการทำงาน

ธีร์: ผมเกิดและเติบโตที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ บ้านผมอยู่ใกล้วัดช่องแค
ผมเดินไปทำบุญกับใส่บาตรกับคุณยายเสมอในตอนเด็กๆ ผมเรียนที่อำเภอตาคลี
จนกระทั่งจบการศึกษาในช่วงมัธยมต้น พอถึงช่วงมัธยมปลายผมได้ไปเรียนที่โรง
ร้อยเอ็ดวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเวลา3 ปี ผมเห็นวิถีที่งดงามของชาวอิสาน
และเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาไม่น้อย ก่อนจะสอบเอนทรานซ์ติดที่ มหาวิทยาลัยแม่
โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ คณะภูมิสถาปัตยกรรม ผมเป็นรุ่น 1 เลยครับ เป็นที่ๆ บ่มเพาะ
แนวความคิดและภูมิปัญญาของผม นำโดย อ.ศิริชัย หงษ์วิทยากร ซึ่งท่านจบจาก
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโทที่มิชิแกน อ.จรัส
พิมบุญญานันท์ ท่านจบโทที่อิลลินอยส์ ทำให้แนวความคิดของผมมีความเป็น
ตะวันตกพอสมควร ความเรียบง่ายของคณาจารย์ที่ผมรู้จักทุกท่านที่ได้สั่งสอนผม
ทางอ้อม  นอกจากเรียนแล้ว ผมเฝ้าดูวิถีการใช้ชีวิตของคณาจารย์ให้ให้ข้อคิดผม
หลายอย่างจริงๆ ครับ รูปแบบการคิดแบบ สเก็ตดีไซน์ คือวิธีคิดเร็ว ทำเร็ว
นำเสนอเร็ว แบบเด็กคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผมยังนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน

07-crm

เมื่อเริ่มต้นอาชีพภูมิสถาปนิก ผมมีเป้าหมายทำงานออกแบบที่สามารถนำ
สถาปัตยกรรมไทยเข้าไปประยุกต์กับวิถีชีวิตสมัยใหม่เมื่อจบการศึกษาในปีพ.ศ.
2540 เพราะงานวิทยานิพนธ์ที่ผมทำเกี่ยวข้องโดยตรงกับทฤษฎีใหม่และคำถาม
ของผมคือ รูปแบบสถาปัตย์และภูมิสถาปัตย์ใดจะเหมาะกับสิ่งที่ผมคิดขึ้นมา
คำตอบที่ได้รับก็คือวัฒนธรรมสากล

ผมเคยร่วมงานกับสถาปนิกสองท่านเมื่อหลายปีมาแล้ว ท่านแรกคือคุณเมธา บุน
นาคจาก Bunnag Architects ความสำเร็จของคุณบุญนาคคือการออกแบบรีสอร์ต
ที่ดึงเอาจิตวิญญาณท้องถิ่นหรือความมีเอกลักษณ์ของประเทศนั้นๆ แล้วนำไป
ผสมผสานกับการใช้ชีวิตแลลสมัยใหม่ ท่านที่สองคือคุณ Bill Bensley จาก
Bensley Design Studios ที่มีหนังสือนับพันเล่มเกี่ยวกับการออกแบบเก็บไว้ใน
ห้องสมุดส่วนตัว

จานีน: อยากให้คุณธีร์พูดถึงความชื่นชอบในการจัดทำภาพยนตร์ศิลปะดิจิทอล

T1-cr

ธีร์: ความหลงใหลในโลกภาพยนตร์ของผมนำมาสู่จุดเปลี่ยนในอาชีพการงานเมื่อ
เบนเข็มจากการเป็นภูมิสถาปนิกสู่ศิลปินภาพยนตร์สามมิติดิจิทัล โดยเปิดบริษัท
ธรี ดี แลนด์ จำกัด (Three D Lands)เพื่อผลิตภาพยนตร์โฆษณาสามมิติดิจิทัล
ป้อนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่นำศาสตร์ภูมิสถาปัตย์เข้ามาผสมกับศาสตร์การทำ
ภาพยนตร์สามมิติดิจิทอล โดยเฉพาะภาพยนตร์สามมิติดิจิทอลมาจากพื้นฐาน
ความรักในการวาดรูป และการชมภาพยนตร์

01-cr

การวาดรูปเป็นความชอบที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเยาว์ แม้คุณพ่อจะมีฝีมือในการเขียน
ตัวหนังสือด้วยพู่กันก็ตาม แต่ท่านไม่สนับสนุนให้ธีร์เป็นศิลปิน ดังนั้น หากต้องการ
วาดรูป ผมต้องรอตอนท่านไม่อยู่บ้าน โดยช่วงแรกจะวาดสิ่งที่เห็นรอบตัว เช่น โต๊ะ
เก้าอี้ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ แล้วค่อยๆ ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ซึ่งต่อมาค้นพบ
เทคนิคว่าต้องเริ่มจากการฝึกวาดเส้นให้ได้ก่อน เพื่อจะควบคุมทิศทาง เมื่อควบคุม
ได้แล้ว จะวาดอะไรก็ได้ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญจนสามารถวาดรูปให้เพื่อนเกือบ
ทั้งห้องได้ ตั้งแต่กายภาพมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย การแสดงสีหน้าอารมณ์ความรู้สึก
และนักแสดงยอดนิยมในยุคนั้นคือช่วงทศวรรษที่ 90 เช่น คีอานู รีฟท์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังทดลองใช้สีทุกรูปแบบเท่าที่หาได้ โดยเฉพาะสีโปสเตอร์ จนเกิด
ความชำนาญเรื่องสี ถึงขึ้นเพียงแค่มองก็ทราบสัดส่วนของสี และสามารถผสมสีได้
ตามต้องการได้ภายในครั้งเดียว

การชมภาพยนตร์ :เป็นความบันเทิงของครอบครัวสังคมไทยในทศวรรษที่ 1980 -
1990 เพราะเป็นยุคที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ซึ่งแต่ละบ้านจะมี
เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องเล่นวีดีโอ ผมเป็นคนเลือกภาพยนตร์ให้คุณพ่อดูทุก
เรื่อง

จานีน: คุณมีความเห็นอย่างไรกับงานสถาปัตยกรรมโบราณในประเทศไทย

06-cr

ธีร์: ผมศึกษาวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของหลายๆ ประเทศรวมไปถึงประเทศไทย
ผมเฝ้ามองโบราณสถานโดยใช้หลักของสถาปัตยกรรมและสุนทรียศาสตร์มีการใช้
ความรู้วิชาต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้างโบราณสถาน ผมสามารถใช้
เวลาอ่านภาพได้เป็นวันๆ ถึงลายเส้นที่ก่อกำเนิด รูปร่าง และลวดลาย  แนวคิดการ
ก่อสร้างของยุคสุโขทัยนี่ต่างจากอยุธยาโดยสิ้นเชิงครับ ความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีทำให้เราสถาปนิกทำงานง่ายขึ้นกว่าเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว ตอนนี้เรา
สามารถหาข้อมูลภาพต่างๆ วิดิโอคลิปทางคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่

จานีน: คุณมีหลักการทำงานอย่างไร

ธีร์: ผมไม่ปรารถนาที่จะทำงานโดยการลอกความคิดของคนอื่น เพราะนิสัย
สถาปนิกที่ติดมา คือ งานเราจะต้องหนีตัวเองและพัฒนาขึ้นเสมอ ตลอดจน เรา
ต้องรู้จริงในสิ่งที่ทำเพราะหากเราทำตามคนจำนวนมาก คิดตามคนอื่น งาน
ดิจิทอลของไทยเราจะไม่พัฒนา ซอฟแวร์ก็เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งเท่านั้น ทำ
เก่งก็ดี แต่คิดเก่งด้วยในส่วนของความคิดสร้างสรรค์จะดีกว่า เพราะในโลกใบนี้จะมี
บุคคล สามประเภท ที่สร้างภาพขึ้นมาใหม่เสมอ คือศิลปิน ครีเอทีฟ และผู้กำกับ
ภาพยนตร์

เนื่องจากว่าความถนัดของแต่ละคนนั้นต่างกัน โลกภาพยนตร์ไม่ว่าจะล้ำแค่ไหนก็
จะไม่สามารถทำตึกในหนังให้ล้ำกว่า Zaha Hadid  ได้แต่ตัวZaha Hadidก็ไม่
สามารถทำงานเดี่ยวๆแบบ  H.R. Gaigerได้ โดยส่วนตัวแล้วงานที่ผมทำนั้นผม
อยากให้เป็นประโยชน์ สร้างความภูมิใจให้กับคนในชาติ

10-cr

จานีน: โครงการล่าสุดของคุณคืออะไร

ธีร์: ในตอนนี้ ผมได้มีโอกาสทำงานกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เพื่อตอบแทนคุณ
แผ่นดินอีกครั้ง   แม่โจ้เป็นสถานที่สำคัญมากเพราะเป็นทีซึ่งพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงประกาศ ทฤษฎีใหม่ ในปี พ.ศ. 2538 ทำให้ผมตั้งคำถาม
กับตัวเองว่าทำไมพระองค์เลือกที่นี และเมื่อผมสืบค้นลงไป พูดคุยกับคณาจารย์
และท่านอธิการบดี ตรึกตรองแล้วผมก็ถึงสาเหตุ กระบวนการ และที่มานั้นผมถาม
ตัวเองลึกลงไปกว่านั้นว่าหัวใจของแม่โจ้คืออะไรหัวใจของศาสตร์พระราชาคือ
อะไรจุดมุ่งหมายของศาสตร์นี้คืออะไรปลายทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 ทรงวางไว้ ทรงตรึกไว้ ภาพในมโนคติของพระองค์เป็นอย่างไรยิ่งผม
ยิ่งค้นยิ่งนึกยิ่งคิด ยิ่งได้คำตอบหลายประการ พระองค์ทรงงานอย่างหนัก
ก่อให้เกิดศาสตร์แห่งพระราชา หากแต่เราคิดหรือไม่ว่าหัวใจของศาสตร์พระราชา
คืออะไร คิดบ้างหรือไม่ว่าหัวใจของพระราชานั้นต้องการสิ่งใดพวกเรารู้คำตอบอยู่
แล้ว ว่า" หากประชาชน ไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ่งประชาชนได้อย่างไร"
และ พระองค์รักษาคำพูดนั้นชั่วชีวิตหัวใจของพระชา คือ ราษฎรครับ พระเพียรทำ
4,000 โครงการเพื่อ ราษฎร ให้ทุกคนได้มีความสุขบนผืนดินไทย พระองค์อยาก
ให้เรามีชาติไทยต่อไปครับและชาติไทย ก็คือ พวกท่านทุกคนและนั่นคือที่มีของ
ศาสตร์พระราชาและด้วยน้ำพระราชหฤหัยที่มากล้นนั้นพระองค์ไม่หวงครับ ใครจะ
มาเรียนก็ได้แม้เป็นชาวต่างชาติ

ในชีวิตของการทำงานผมก็ยังไม่เคยลืมคำสอนและวิถีของรัชกาลที่ 9 วิธีการ
ทำงานของท่าน ความรักที่ท่านมีให้คนไทย ผมมีท่านเป็นยึดหนี่ยวเสมอมา ลึกๆ
ในหัวใจผมอยากทำโครงการ เศรษฐกิจพอเพียงนำมาประยุกต์เข้ากับบ้านและ
ที่ดินเสมอมา

08-cr

จานีน: อยากจะนำเสนออะไรเพิ่มเติมอีกไหมคะ

คิดถึงสิ่งทีฉายทำอยู่ในตอนนี้  ภาพยนตร์สั้นแต่ฉายด้วยเทคนิคพิเศษ แต่ความ
พิเศษที่มากขึ้นกล่าวรื่องราวของมิติหลังความตาย เมื่อวิญญาณของพวกเราสับสน
ขณะที่ชีวิตได้สิ้นสุดลง ความงามของสวรรค์จะไขข้อข้องใจในวาระสุดท้ายได้
หรือไม่ พระพุทธองค์ที่พวกเราศรัทธานั้นจะช่วยเราได้หรือไม่ ผมได้ใช้เทคนิค
พิเศษ บวกกับการดีไซน์บนพื้นฐานของอารยศรัทธาในโลกดิจิทอล

อีกเรื่องเป็นภาพยนตร์พิเศษ เช่นกัน คือ Siam Vilizeเรื่องราวการย้อนเวลากลับ
เพื่อค้นหาความงามของอารยะที่สาบสูญเนื่องจากพระเพลิงแห่งสงคราม ผมต้อง
บอกว่าทำการบ้านหนักจริงๆ ครับ จะเป็นภาพอยุธยาที่คุณทุกคนไม่เคยเห็นมา
ก่อน และข้อมูลที่ผมมีสามารถสร้างภาพยนตร์ในยุคอยุธยาได้ไม่น้อยกว่า 12
เรื่อง ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ในภาพของเมืองที่เลือนลบไป

แต่สิ่งที่เห็นจะมีค่ายิ่งกว่าการใช้ตาดู และผมจะไม่ทำลายภาพฝันแห่งอยุธยานั้น
เลย ภาพฝันอันเกิดจากการค้นคว้าอันหนักหน่วงร่วมกับกรมศิลปากรนั้น ผมรับรอง
ว่าท่านจะไม่เคยเห็นที่ได้มาก่อน

ผมเคยใช้พลังของภาพยนตร์ศิลปะดิจิทอลมาแล้ว โดยเฉพาะในงานล่าสุด คือ
Miss Universe2018

สิ่งปรากฎในรอบชุดประจำชาติที่ภาพที่สร้างมาจากสะกดผู้ชมกว่า 7,000
โดยเฉพาะรอบคัดเลือก ที่ทุกคนกล่าวขวัญถึงความงามของฉากดิจิทอล ที่สื่อถึง
ความเป็นไทยด้านหลัง ว่าศิลปไทยที่เราพัฒนาขึ้นในโลกเสมือนนั้น ผู้คนทั่วโลก
ต่างให้การยอมรับจากเสียงตอบรับที่ได้ยินทำให้กำลังใจนั้นมาอย่างเต็มที่

และกลับมาที่ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรืองนี้ ผมได้ คิดค้นเทคนิคและ ออกแบบให้สูงกว่า
เรื่องของMiss Universe 2018 ที่ผ่านมา อย่างมาก

และผมกำลังมองหา ผู้ร่วมทุนสนับสนุนเพื่อให้ได้ภาพยนตร์คุณภาพสูง เพื่อให้ภาพที่
เกิดขึ้นเป็นดังจินตภาพที่ผมต้องการ เนื้อหาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นและเป็นภาพยนตร์
ฉายในโรงหนังทั่วประเทศและโลกสากลต่อไปครับ แล้วท่านทั้งหลายและคนทั่ว
โลกจะตกตะลึง และทราบคุณคุณค่าแห่งอารยะของชาติไทย จากการคืนกลับของ
อยุธยาที่สาปสูญนั้น เหมือนชาวต่างชาติที่ได้เห็นอยุธยาเป็นครั้งแรก

Today Show Eng Sub from ThreeDLands on Vimeo.

 

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
©2019 Janine Yasovant
©2019 Publication Scene4 Magazine

 

 

Please support us with
your contribution Here

Sc4-solo--logo62h

June 2019

Volume 20 Issue 1

  SECTIONS: Cover | This Issue | inFocus | inView | inSight | Perspectives | Special Issues | Books
  COLUMNS: Adler | Alenier | Bettencourt | Jones | Marcott | Thomas | Walsh 
  INFORMATION: Masthead | Submissions | Recent Issues | Your Support | Links | Archives
  CONNECTIONS: Contact Us | Comments | Subscribe | Advertising | Privacy | Terms | Letters

Search This Issue

|

Search The Archives

|

Share via Email


Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine of Arts and Culture. Copyright © 2000-2019 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.
 

Scene4 Books at Aviarpress - www.aviarpress.com

Good Reading
Is Currently
On Sale
Here

Scientific American - www.scene4.com
Calibre Ebook Management - www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine
14990330623594616631
Janine-28