Scene4-International Magazine of Arts and Culture www.scene4.com
img01-cr

บ้านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี
ศิลปินชาวอิตาเลียนคอราโด้ เฟโรซี่ (ศิลป์ พีระศรี) เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
ศิลปากรและได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของประเทศ
ไทย

จานีน ยโสวันต์

นการเริ่มต้นปีพ.ศ. 2562 ดิฉันอยากให้คุณทราบเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านของ
ศิลปินชาวอิตาเลียนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยในฐานะอาจารย์สอนศิลปะ
และกลายเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมาก

img02-cr

ชื่อภาษาอิตาเลียนของท่านคือคอราโด้ เฟโรซี่ (15 กันยายน พ.ศ. 2435 –
14 เมษายน พ.ศ. 2505) แต่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักท่านอาจารย์ศิลป์ในนาม
ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี นอกเหนือไปจากการสอนหนังสือให้กับ
นักศึกษาแล้ว ท่านอาจารย์ศิลป์ยังอุทิศเวลาให้กับการศึกษาศิลปะไทยและ
วางรากฐานเอาไว้พร้อมกับศิลปะแขนงอื่นๆ ที่มีในหลักสูตร ศิษย์เก่าที่มาจาก
มหาวิทยาลัยศิลปากรที่เคยได้รับการสอนสั่งจากท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรีนั้น
ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์และอาจารย์ที่ลึกซึ้ง ท่านอาจารย์ศิลป์ได้
กระตุ้นให้นักศึกษาทุกคนผลักดันตนเองให้เป็นศิลปินที่ยอดเยี่ยมและทำงาน
หนัก นอกเหนือไปจากนี้นักศึกษารุ่นหลังของมหาวิทยาลัยศิลปากรนั้นยังให้
ความเคารพต่อท่านอาจารย์ศิลป์ไม่น้อยไปกว่านักศึกษารุ่นก่อนหน้าที่เป็นศิษย์
ของท่านอาจารย์ศิลป์โดยตรง สำหรับดิฉันแล้วคงไม่ได้เป็นการกล่าวเกินจริง
ว่านักศึกษาศิลปะและผู้รักในงานศิลปะในประเทศไทยทุกคนเคารพท่าน
อาจารย์ศิลป์เป็นแบบอย่าง มีคำกล่าวง่ายๆ ที่ท่านได้มอบให้กับนักศึกษาใน
งานเลี้ยงฉลองวันเกิดครั้งสุดท้าย (15 กันยายน พ.ศ. 2504) ประโยคนี้เป็น
ภาษาไทยมีใจความว่า “นาย... ถ้าฉันตาย นายคิดถึงฉัน... นายรักฉัน... นาย
ไม่ต้องทำอะไร... นายทำงาน...”

ในฐานะที่ท่านเป็นประติมากร ท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรีออกแบบรูปปั้นและ
อนุเสาวรีย์ให้กับกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัด เช่นพระพุทธรูปองค์
ประธานที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม อนุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กรุงเทพมหานคร รูป
ปั้นท้าวสุรนารีในจังหวัดนครราชสีมา อนุเสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชใน
จังหวัดสุพรรณบุรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร และถือว่าเป็นบิดา
ของศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย วันศิลป์ พีระศรี (15 กันยายนของทุกปี)เป็น
วันที่ชาวไทยระลึกถึงอาจารย์ศิลป์ พีระศรีและสิ่งดีๆ ที่ท่านทำให้กับประเทศ
ไทย

ในเดือนนี้ดิฉันได้สัมภาษณ์คุณฉัตรชนก ดุลยรัตน์ ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัย
ศิลปากรผู้ที่รับผิดชอบในการปรับปรุงและดูแลรักษาบ้านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี

จากนี้ไปเป็นบทสัมภาษณ์

จานีน: อยากให้เล่าเรื่องบ้านอาจารย์ฝรั่งโดยสังเขป

ฉัตรชนก: บ้านอาจารย์ฝรั่ง ศิลป์ พีระศรี เป็น หนึ่งในเรือนบริวารของบ้านพระ
ยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ซึ่งท่านเป็นผู้รับสนองเบื้องพระยุคลบาทล้นเกล้ารัชกาล
ที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานที่ดินให้ บ้านหลังนี้มี
อายุกว่า 100 ปี ใน พ.ศ. 2466 (ในสมัยรัชกาลที่ 6) อาจารย์ศิลป์ พีระศรี
ชื่อเดิม คือศาสตราจารย์คอราโด้ เฟโรซี่ ได้ถูกเรียนเชิญจากพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 29 ปีและ
อาศัยอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เข้ามารับราชการโดยเป็นอาจารย์
สอนปั้นหล่อให้กับข้าราชการไทยสมัยนั้น คำว่าอาจารย์ฝรั่งจึงได้ถูกเรียกชื่อ
แทนชื่อภาษาอิตาเลี่ยนของท่านแต่นั้นมา เพราะในสมัยนั้นคนไทยยังออก
เสียงภาษาต่างประเทศยังไม่ได้ รัฐบาลไทยจึงได้เช่าบ้านหลังนี้ให้อาจารย์ได้
พำนักพร้อมครอบครัว ซึ่งอาจารย์ได้อาศัยอยู่ที่นี่เป็นเวลา 8 ปี และนี่คือ
ประวัติศาสตร์ที่เราควรทราบในฐานะที่อาจารย์ศิลป์ เป็นบุคคลสำคัญของ
ประเทศด้วยที่ท่านทำคุณประโยชน์ในเชิงศิลปะให้ประเทศไทยไว้อย่าง
มากมาย ท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรและเป็นบิดาของศิลปะร่วม
Xสมัย ผลงานของอาจารย์มีมากมายทั้งงานหลักสูตรของวิชาศิลปะทุกแขนง
งานเขียน งานวิจัย และงานปั้นอนุเสาวรีย์อีกมากมาย

img3-cr

จานีน: อะไรคือเหตุผลของการเปิดบ้านอาจารย์ฝรั่งให้คนได้เข้าชม

ฉัตรชนก: เมื่อปีพ.ศ.2560 สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก ได้เป็นผู้
ค้นพบบ้านอาจารย์ฝรั่งร่วมกับนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร โดยภาพนึง
ที่ถูกส่งมาจากครอบครัวอาจารย์ศิลป์ที่อิตาลีเพื่อแจ้งข่าวการเสียชีวิตของ
อิซาเบลล่า ลูกสาวของอาจารย์ และภาพนั้นได้ถูกถ่ายที่บ้านหลังนี้ จึงเป็น
ที่มาของการเปิดบ้านอาจารย์ฝรั่งนับแต่นั้นมา แต่ด้วยการดูแลบ้านเป็นทหาร
ในสำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก จึงทำให้บ้านที่ขณะนั้นเปรียบเสมือน
เป็นพิพิธภัณฑ์อาจารย์ศิลป์ พีระศรี และผู้คนเริ่มเบาบางลง เพราะเปิดแค่วัน
พุธวันเดียว จึงได้ปิดตัวลง

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 สำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก จึงได้เฟ้นหา
ผู้ที่จะมาดูแลบ้านอาจารย์ฝรั่ง และในที่สุด ดิฉันได้เป็นผู้รับเลือกซึ่งถือว่าเป็น
เกียรติสูงสุดในชีวิต ดิฉัน ฉัตรชนก ดุลยรัตน์ ซึ่งจบจากคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้ชักชวนเพื่อนอีก 2 คน คือ คุณศุภกิจ สุทธิพิทักษ์
ที่จบจากคณะมัณฑนศิลป์ และ คุณบุญชัย พิพัฒน์ชูเกียรติ จบจากคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมกันปรับปรุงดูแลให้บ้าน
หลังนี้มีกลิ่นไอของงานศิลปะ เพื่อที่จะให้ประชาชนที่มาชมบ้านได้รำลึกถึง
และให้ทุกคนได้ระลึกรู้ถึงประวัติและผลงานอันทรงคุณค่าของอาจารย์ศิลป์
พีระศรี ด้วยอาคารอนุรักษ์หลังนี้ที่มีประวัติศาสตร์อันน่าจดจำแล้ว ดิฉันต้องการ
ให้คนมาเสพงานศิลปะ แล้วควรจะได้สัมผัสรส และกลิ่น ดิฉันจึงได้ชักชวนร้าน
Craftsman ร้านกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคือร้านกาแฟในบ้านเก่า มาอยู่ที่นี่
ด้วย เพื่อให้คนที่มาที่นี่ได้มาเป็นที่พักผ่อน อ่านหนังสือ ดื่มกาแฟ ทานอาหาร
ก่อนหรือหลังชมงานศิลปะ

img09-cr

จานีน: อยากทราบถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ของบ้านอาจารย์ฝรั่งเมื่อไม่นาน

ฉัตรชนก: ดิฉันได้ชักชวนคุณนิวัติ มหาบุณย์  ประธานกลุ่มศิลปาศรี มาจัดงาน
นิทรรศการในบ้านอาจารย์ ซึ่งได้จัดมาแล้ว คือ งานแม่หลวงแห่งแผ่นดิน
งานลูกศิษย์คิดถึงอาจารย์ ร่วมกับบ้านอาจารย์ฝรั่ง (วันศิลป์ พีระศรี) งาน
นิทรรศการกษัตริยมหาราชในดวงใจไทยนิรันดร์ นิทรรศการสีน้ำโลก High
Prototype จาก ศิลปินระดับโลก มาจากห้องแสดงภาพทั้ง 2 แห่งในประเทศ
สวิสเซอร์แลนด์และเซอร์เบีย และในเดือน ธันวาคมซึ่งวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวัน
คล้ายวันพระราชสมภพของในหลวงรัชกาล ที่ 9 และเป็นวันชาติ บ้านอาจารย์
ฝรั่งจัดนิทรรศการ Thai' SOUL ซึ่งเป็นงาน แสดงศิลปะไทยร่วมสมัย ศิลปิน
ทั้งหมดเป็นศิษย์เก่าคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ สาขาศิลปะ
ไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร และทุกคนได้รับรางวัลเหรียญทองจากสถาบัน
ต่างๆในสาขานี้กันทุกคน พร้อมกับนำผลงานของนักศึกษาจากสาขาศิลปะไทย
มาร่วมแสดง โดยรายได้จากการขายผลงานของนักศึกษา บ้านอาจารย์ฝรั่งไม่
หักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นค่ะ เรามอบให้เป็นทุนการศึกษาทั้งหมด งานจะจัด
แสดงตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม ถึง 25มกราคม2019 เวลาเปิดคือ 9.00 -19.00
น. ทุกวัน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชมค่ะ

img11-cr

งานดนตรีในสวน Feroci Arte Musica เป็นกิจกรรมที่ให้ดนตรีกับศิลปะได้อยู่
ร่วมกัน จึงได้เลือกช่วงเวลาสบายในเดือน ธันวาคมถึงมกราคม จัดกิจกรรม
ดังกล่าว โดยจัดที่สวนหน้าบ้านอาจารย์ บ้านอาจารย์หลังไม่ใหญ่ เราจึงรับจอง
ในแต่ละรอบการแสดงไม่เกิน 100 คนเท่านั้นค่ะ วงดนตรีแนวฟังง่าย แจ๊ส
อาร์แอนด์บี บอซซ่า นักดนตรีส่วนมากเป็นศิลปิน และรักดนตรี บรรยากาศงาน
จึงมีแต่ความเป็นกันเอง และรอยยิ้มที่ให้แก่กัน

กิจกรรม Workshop บ้านอาจารย์ฝรั่งได้ทำworkshopครั้งแรกร่วมกับธนาคาร
SME DEVELOPMENT BANK จัด Indigo Workshop by Arunlux ซึ่งเป็นงาน
มัดย้อมครามในเชิงสัมมนากลยุทธ์การตลาดให้แก่ผู้ประกอบการของลูกค้า
ธนาคาร เพื่อให้เข้าใจการตลาดและการออกแบบสู่สากล และเราจะมีโครง
แบบนี้หลากหลายอาชีพแต่อยู่ในกรอบศิลปและวัฒนธรรมค่ะ

จานีน: สุดท้ายนี้มีอะไรอยากจะฝากให้กับผู้อ่านหรือประชาสัมพันธ์

ฉัตรชนก: บ้านอาจารย์ฝรั่งมีปรัชญาแต่แรกว่า เราจะไม่แสวงหาผลประโยชน์
กับบ้านอาจารย์ เราขอเพียงแต่ให้สถานที่นี้ เป็นที่นึงที่ศิลปินทุกคนสามารถ
เดินเข้ามาคุย หาช่องทางในการแสดงงานให้แก่ศิลปิน และนำประโยชน์และ
แรงบันดาลใจให้แก่ผู้เยาว์ที่รักศิลปะ สร้างโอกาสของคนพิการ เด็กพิการ
ได้มาเรียนศิลปะฟรี ซึ่งจะเป็นโครงการในอนาคตนี้ หวังว่าอาคารอนุรักษ์บ้าน
อาจารย์ฝรั่ง ศิลป์ พีระศรี จะเป็นสถานที่ที่อยู่ในใจของคนทุกคน ร่วมกัน
อนุรักษ์ให้ยืนยาวนานนะ เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00-19.00น ค่ะ ไม่มี
ค่าใช้จ่ายในการเข้าชมงานศิลปะ

Chatchanok1-cr

 

กรุณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทความนี้ี้

Scene4 Magazine: Janine Yasovant

ส่ง
อีเมล์
หน้านี้

จานีน ยโสวันต์ เป็นนักเขียน
เธออาศัยอยู่ในเชียงใหม่ประเทศไทย
สำหรับบทความและบทวิจารณ์อื่นๆ ของ จานีน ยโสวันต์
กรุณาตรวจดู
 แฟ้มเก็บข้อมูล

Click Here for this article in English
©2019 Janine Yasovant
©2019 Publication Scene4 Magazine

 

 

Sc4-solo--logo62h

January 2019

Volume 19 Issue 8

SECTIONS: Cover | This Issue | inFocus | inView | inSight | Perspectives | Special Issues | Books
COLUMNS:  Alenier | Bettencourt | Jones | Marcott | Meiselman | Thomas | Walsh 
INFORMATION: Masthead | Submissions | Recent Issues | Your Support | Links | Archives
CONNECTIONS: Contact Us | Comments | Subscribe | Advertising | Privacy | Terms | Letters

Search This Issue

|

Search The Archives

|

Share via Email


Scene4 (ISSN 1932-3603), published monthly by Scene4 Magazine–International Magazine of Arts and Culture. Copyright © 2000-2019 Aviar-Dka Ltd – Aviar Media Llc.
 

Scene4 Books at Aviarpress - www.aviarpress.com

Good Reading
Is Currently
On Sale

Scientific American - www.scene4.com
Calibre Ebook Management - www.scene4.com
Thai Airways at Scene4 Magazine
14990330623594616631
Janine-28